เพื่อนเพื่อนทราบกันบ้างไหมละว่าตั้งแต่ปี 1895 ที่สองพี่น้องนักประดิษฐ์ ออกุสต์ และหลุยส์ ลูมิแอร์ ได้นำเสนอเครื่อง “ซีเนมาโตกราฟ” ที่เป็นทั้งกล้องถ่ายภาพและเครื่องฉายภาพยนตร์ออกสู่สาธารณชนเป็นต้นมานั้นก็คือจุดเริ่มต้นของการแบ่งปันจินตนาการจากผู้สร้างสรรค์ผลงานที่แปลงจากตัวหนังสือของงานเขียนต่าง ๆ หรือสิ่งที่เป็นเพียงความคิดของใครสักคนให้กลับกลายเป็นภาพที่ใครต่อใครก็สามารถมองเห็นและเข้าใจมันได้อย่างภาพยนต์ที่เราได้ชมกันอยู่ทุกวันนี้นั้นเองซึ่งต้องบอกเลยว่าผลงานที่เรามองอยู่จากบนหน้าจอภาพยนต์เหล่านั้นกับการทำงานเบื้องหลังนั้นมันช่างแตกต่างกันเสียเหลือเกินจนบางครั้งหากเราหรือใครก็ตามที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตและทำงานเหล่านั้นมาก่อนก็คงจะต้องเกิดความสงสัยขึ้นมาอย่างแน่นอนว่าเพราะเหตุใดเราจึงเห็นเหล่านักแสดงไปยินอยู่คนเดียวและแสดงอาการท่าทางเหมือนกับกำลังชื่นชมบางสิ่งบางอย่างอยู่หรือ อาจจะเป็นหยุดและพูดคุยกับตุ๊กตาหรือเสาไม้อย่างออกรสชาติ เปรียบได้กับการพูดคุยกับเพื่อนหรือใครสักคนอย่างสนุกสนานเลยก็ว่าได้

ซึ่งพวกเราเพลินเพลินได้เห็นภาพเบื้องหลังบางส่วนและคำบอกเล่าที่อธิบายถึงที่มาที่ไปของการแสดงและการทำสิ่งเหล่านั้นของเหล่านั้นแสดงก็ยิ่งทำให้เราต้องปรบมือให้กับทั้งความสามารถในตัวนักแสดงที่สามารถจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่ให้เกิดขึ้นตรงหน้าและยังสามารถทำการแสดงกับสิ่งเหล่านั้นเหมือนกับมันมีอยู่จริงๆ อีกทั้งยิ่งต้องชื่นชมในจินตนาการที่สุดจะลึกล้ำของเหล่าผู้สร้างผู้กำกับที่สามารถบรรจงขีดเขียนและเอาสิ่งที่อยู่ในจินตนาการออกมาเป็นเนื้อหาและทำให้เหล่าดาราและทีมงานเข้าใจสิ่งเหล่านั้นและเห็นตามได้ด้วย มาลองชมภาพเหล่านั้นกันเลยดีกว่านะ

หนึ่งในเบื้องหลังของการสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมก็คือการกำกับท่าทางการแสดงที่แน่นอนว่าการมีตัวอย่างมให้เห็นก่อนและทำตามก็จำทำให้เหล่านักแสดงสามารถทำงานและเข้าใจท่าทางได้ง่ายขึ้นซึ่งนั้นก็คือหน้าที่ของเหล่า Casting Director (ผู้กำกับนักแสดง)นั้นเองอย่างภาพนี้ก็คือเบื้องหลังของ Gal Gadot ที่รับบทเป็น Wonder Woman กำลังถ่ายทำฉากแอ็คชั่นสำหรับภาพยนต์เรื่อง Justice League โดยมีการช่วยบอกท่าทางที่อยากจะให้ทำก่อนที่จะเริ่มการถ่ายทำจริง ๆ นั้นเอง
© Warner Bros
ซึ่งภาพที่ออกมาทางหน้าจอก็สมจริงอย่างที่เราเห็นกันนั้นเอง
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ความสมจริงของภาพยนต์นั้นก้าวข้ามจากเรื่องในจินตนาการออกมาสู่หน้าจอภาพยนต์ให้เราได้ชื่นชมนั้นก็คือการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ VFX หรือ Visual Effect นั้นเองซึ่งทำให้เราสามารถสร้างรูปร่างของสิ่งต่าง ๆ ขึ่นมาในรูปแบบของโมเดลสามมิติภายในคอมพิวเตอร์และนำเอาท่าทางของเหล่านักแสดงที่ถ่ายทำกันด้วยชุดพิเศษที่มีการบันทึกจุดต่าง ๆ บนร่างกายหรือใบหน้าแล้วนำทั้งสองสิ่งเข้ามารวมด้วยกันทำให้โมเดลสามมิติขยับและเคลื่อนไหวได้สมจริงเหมือนกับเป็นนักแสดงคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ อย่างในภาคสองของ The Hobbit เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ คือต้นแบบของการแสดงของร่างมังกรที่ชื่อว่าสม็อกนั้นเอง
© MGM, © The Hobbit: The Desolation of Smaug

อีกหนึ่งสิ่งที่เราหลายๆคนคาดและคิดกันไม่ถึงนั้นก็คือการเชื่อมโยงเนื้อเรื่องที่เรากำลังรับชมอยู่กับหนังเรื่องอื่นๆ ที่มีอยู่ในแผนการผลิตซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ช่างละเอียดอ่อนเหลือเกินเพราะมันจะต้องถูกวางแผนไว้ล่วงหน้าทั้งการทำงานในปัจจุบันและคิดไปถึงหนังอีกเรื่องว่าจะมาบรรจบและอ้างอิงได้จากจุดไหนของเรื่องนี้บ้างซึ่งบางเรื่องนั้นมีการช่อนสิ่งเหล่านี้ไว้มากมายอย่าง อย่างนี้ก็เป็นภาพเบื้องหลังจากฉากที่ Joker และ Harley Quinn กำลังพูดคุยกันซึ่งมันนำไปสู่ความเกี่ยวข้องของหนังภาคหลักของ joker
© DC Comics, © Suicide Squad
ก่อนและหลังเอฟเฟกต์พิเศษของ Beauty and the Beast
© Walt Disney Pictures
กว่าจะเป็นภาพสวยงามอย่างที่เราเห็นพระเอก แดน สตีเวนส์ ของเราก็ต้องทำการแสดงด้วยชุดที่ทำขึ้นเป็นพิเศษที่ใส่ทั้งรูปร่างที่ดูใหญ่โตขึ้นและยังรองเท้าที่หนาและสูงเพื่อทำให้รูปร่างของพระเอกจองเราเป็นขนาดใกล้เคียงกับร่างกายของพระเอกในเรื่องและชุดที่เพื่อนๆเห็นอยู่นี้ยังมีแทบและจุดต่างๆบนชุดเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์เวลาที่ใช้ CG ซึ่งไม่ใช้ย่อมาจาก Computer Graphics อย่างที่เราคุ้นหูกันนะเพราะอันที่จริงมันมาจาก  Computer Generated ซึ่งแปรตรงๆว่าเป็นการสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแทนที่โดยจะซ้อนภาพของตัวละครลงไปและสามารถทำให้มันขยับไปตามจุดที่มุมกล้องและคอมพิวเตอร์ได้ทำการบันทึกไว้ในตอนที่นักแสดงได้ทำการแสดงไว้นั้นเอง ซึ่งอีกมุมหนึ่งก็ต้องปรบมือให้นางเอกของเราที่ต้องแสดงคู่กับพระเอกของเราโดยจินตนาการถึงความน่าเกรงขามแทนที่จะเป็นภาพเหล่านี้ก็คงต้องบอกว่าเหล่านักแสดงนั้นช่างมีพลังในการจินตนาการมากจริง ๆ

อย่างที่บอกไปแล้วว่าด้วยเทคนิค CG ที่เราทำได้ในตอนนี้สิ่งเดียวที่ทำให้เราไม่ได้ก็คือการคิดแทนนั้นเองดังนั้นหน้าที่จินตนาการเหล่านี้จึงถือเป็นงานที่ท้าทายเหล่าผู้กำกับการแสดงและนักสร้างภาพทั้งหลายว่าจะสามารถเก็บรายละเอียดได้สมจริงมากแค่ไหน อย่างภาพนี่คือ Ant-Man ที่เล่นโดย Paul Rudd เผชิญหน้ากับสัตว์ยักษ์ถ้าเพื่อนเพื่อนลองมองไปที่กระจกมองข้างของรถยนต์ก็จะเห็นว่ามันก็อยู่ในส่วนที่คิดเอาไว้แล้วด้วยว่าจะต้องใส้ CG ของภาพสะท้อนลงไปด้วยและนี้เองคือความละเอียดอ่อนเล็กๆน้อยๆที่ไม่ถูกมองข้ามไปยังไงละ
© Marvel Studios, © Ant-Man and the Wasp
ถึงแม้จะมีเทคนิคที่ดีมากขึ้นมากมายพวกเขาก็ยังคงมองหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้เหล่านักแสดงทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วยอย่างในหนังเรื่อง Doctor Strange มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้เกิดระยะห่างและช่องที่ดูเหมือนประตูเวทย์มนต์สำหรับให้นักแสดงได้เดินผ่านและเป็นจุดสังเกตุได้ง่ายในการทำการแสดงด้วย
© Marvel Studios, © Doctor Strange
อีกหนึ่งเทคนิคไม่ง่ายไม่ยากในเอฟเฟกต์พิเศษที่สร้างโลกแฟนตาซีทั้งใบใน Alice in Wonderland ของทิม เบอร์ตัน นั้นก็คือการขยายส่วนของภาพร่างกายบางส่วนแล้วซ้อนกลับลงไปในภาพอีกครั้งแบบแนบเนียน
© Walt Disney Pictures, © Alice in Wonderland

และถึงแม้ว่าเราจะทำให้ CG สวยงามและสมจริงมากแล้วก็ตามแต่ฉากและวัสดุที่ต้องการให้เห็นความละเอียดและชัดเจนมากมากก็ยังคงถูกสร้างด้วยมือและเข้าฉากเพื่อให้ยิ่งสมจริงขึ้นไปอีกอย่างนี่คือหนึ่งในช่วงเวลาที่โรแมนติกที่สุดของ Guardians of the Galaxy vol. 2 ถูกถ่ายสร้างส่วนหนึ่งของระเบียงขึ้นมาอย่างสมจริง
© Walt Disney Pictures, © Guardians of the Galaxy
และที่น่าทึ่งขึ้นไปอีกก็คือการสร้างหุ่นจำลองที่สามารถขยับด้วยการบังคับตัวรีโมท ทำให้เจ้าเม่นสีน้ำเงินที่เร็วที่สุดตลอดกาล Sonic มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้แบบนี้และเทคนิคหุนยนต์นี้ยังมีการใช้ในการสร้างสิ่งต่าง ๆ อีกมากอย่างไดโนเสาร์หรือแม้กระทั้งนกยักษ์ดึกดำบรรพ์ในหนังยอดฮิตตลอดกาลอย่างจูราสสิกพาร์ก
© Paramount Pictures, © Sonic the Hedgehog

แต่ไม่ว่าจะมี CG ที่ดีมากมายขนาดไหนก็ตามสุดท้ายแล้วสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างออกมาดูสมจริงก็คือการทุ่มเทเรียนรู้และฝึกฝนของเหล่านักแสดงทั้งนักแสดงหลักและนักแสดงรองต่าง ๆ อย่างเช่นเรื่องนี้นักแสดงที่เล่นเป็นคิงคองต้องเรียนรู้ท่าทางการเคลื่อนไหว อุปนิสัยและยังต้องติดอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปเพื่อให้อยู่ในท่าทางของคิงคองได้สมจริงที่สุดก่อนที่จะเอา CG มาใส่ทับลงไปอีกครั้งนั้นเอง

เพื่อนเพื่อนได้ชมและทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้กันแล้วก็คงทราบถึงที่มาแล้วละสิว่าเหตุใดทุนสร้างของภาพยนต์บางเรื่องถึงสูงมากและผลลัพท์ที่ได้ถึงสมจริงมากมาก นั้นเพราะการใส่ใจและทุ่มเทให้กับการทำงานของทุกๆคนนั้นเองพวกเราเพลินเพลินอยากจะขอปรบมือดังให้กับสิ่งเหล่านี้และจะตั้งใจรอค่อยผลงานใหม่ๆของเขาเหล่านั้น
ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน