คุณมีถ้วยใบโปรดที่ทำให้ชาของคุณมีรสชาติดีขึ้นหรือไม่? และคุณชอบที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยมือขวาของคุณใช่ไหม (ถ้าคุณเป็นคนถนัดมือขวา)? คุณอาจไม่เคยคิดเลยว่าการกระทำธรรมดาๆ ที่เราทำออกไปแบบอัตโนมัติ นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่นิสัยหรือความเคยชินเท่านั้น แต่เป็นกลอุบายภายใต้จิตใจของเรา หากคุณต้องการทราบเกี่ยวกับที่มาของปรากฏการณ์เหล่านี้ ว่าทำไมบางคนถึงชอบผัดวันประกันพรุ่ง ในการลงมือทำงานอะไรสักอย่างก่อนที่จะถึงกำหนดการส่งงาน ลองอ่านบทความของเรา คำตอบทั้งหมดอยู่ที่นี่

พวกเราค้นพบเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งที่น่าสนใจที่สุดของการรับรู้ที่จะทำให้คุณสงสัยเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากมาย

ดวงตาของเราสามารถเปลี่ยนรสชาติของอาหาร

ขนมทางซ้าย ดูแล้วอร่อยกว่าขนมทางขวา
จากการศึกษาข้อมูลบางอย่างแสดงให้เห็นว่าสีของจานและขนาดของจานสามารถเปลี่ยนรสชาติและกลิ่นของอาหารได้ ยกตัวอย่างเช่น ช็อคโกแลตร้อนๆ ดูเหมือนจะอร่อยกว่าในถ้วยสีส้มหรือสีครีม และรสชาติของเจลาตินสตรอเบอร์รี่นั้นเข้มข้นขึ้นเมื่อเสิร์ฟบนจานสีขาวไม่ใช่จานสีเข้มๆ นี่คือเหตุผลที่หลายคนมีถ้วยและจานโปรด นี่คือข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอื่นๆ เกี่ยวกับการรับรู้รสชาติ :  จานสีเหลืองทำให้มะนาวมีกลิ่นแรงขึ้น :  เครื่องดื่มเย็นๆ ควรเสิร์ฟในถ้วยที่มีโทนสีเย็น : อาหารจะมีความหวานมากขึ้นหากเสิร์ฟบนจานสีชมพู
มือขวาดูเหมือนจะยาวกว่ามือซ้าย

สำหรับคนถนัดขวาแล้ว หากลองเอื้อมไปจับสิ่งของด้วยมือขวา และ สลับไปลองใช้มือซ้าย จะรู้สึกเหมือนแขนขวาเอื้อมไปได้ยาวกว่าแขนซ้าย
จากการศึกษาข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการใช่มือด้านที่ถนัดดูเหมือนจะทำให้มือข้างนั้นยาวขึ้นอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว แต่ความจริงแล้วก็คือเวลาที่คุณหยิบจับหรือเอื้อมมือนั้นมีการขยับของหัวไหล่และกล้ามเนื้อต่าง ๆ จำนวนมากซึ่งการใช้มือแต่ละข้าง สร้างความถนัดหรือ การจดจำการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนกันดังนั้นการใช้มือข้างที่ถนัดจึงทำให้รู้สึกว่าเอื้อมมือไปได้ไกลกว่าอีกข้าง

ทำไมคนบางคนชอบผลัดวันประกันพรุ่ง 
คุณอาจรู้ว่า พรุ่งนี้เป็นวันสำคัญที่คุณต้องเตรียมตัว เพื่อที่จะส่งงานหรือ อาจจะต้องทำงานอะไรสักอย่างให้เรียบร้อยก่อน และวันนี้งานชิ้นนั้นก็ยังไม่เสร็จดี แต่แล้วคุณกลับกำลังมานั่งดูรายการทีวีหรือเล่นอินเทอร์เน็ตไปเรื่อยเปื่อย หรือบางคนอาจจะเพียงแค่เดินเล่นไปรอบๆ อพาร์ทเมนต์ ทำไมเราถึงทำเช่นนี้? ประเด็นคือเวลาเรานึกถึงอนาคตของพวกเรา สมองก็จะจินตนาการถึงใครซักคนที่เราไม่รู้จัก สมองจะคิดว่ามันจะมีใครซักคนที่สามารถจัดการปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งคนคนนั้นไม่ได้เป็นตัวเรา ดังนั้นร่างกายและสมองส่วนต่างๆ จึงตอบสนองความคิดนั้นด้วยการไม่สนใจงานชิ้นนั้น เพราะได้ข้อสรุปแล้วว่าจะมีคนอื่นมาทำให้เราแทน นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ถูกฝึกฝนในการคิด หรือการจัดการวางแผนที่ดีถึงมักทำงานออกมาไม่เรียบร้อย หรือต้องเร่งรีบทำงานในช่วงเวลาท้าย ๆ ที่เหลือก่อนจะส่งงานจริง เสมอ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้วเราก็แค่เลิกคิดถึงเวลาที่เหลืออยู่ ตรงกันข้ามลองคิดว่าเราต้องทำงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้ หรือ ภายใน 2-3 ชั่วโมงนี้แทน นั้นจะช่วยให้งานของเราออกมาดีขึ้นอย่างแน่นอน

บางครั้งสมองของเราไม่สนใจแม้แต่การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด

ปรากฏการณ์นี้คือกลไกการป้องกันของสมองที่ทำให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมาอย่างต่อเนื่องในทันที ตัวอย่างเช่น หากคุณดูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ซักพัก แล้วถูกเบี่ยงเบนความสนใจไป เมื่อกลับมาดูรูปอีกครั้งคุณอาจไม่สังเกตเห็นแม้แต่การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนด้วยซ้ำ

นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลอง โดยให้นักศึกษาไปสัมภาษณ์งานและได้รับการต้อนรับจากบุคคลที่ช่วยให้พวกเขากรอกแบบฟอร์มที่จำเป็นทั้งหมดและอธิบายสิ่งที่ต้องทำต่อไป โดยนักเรียนไม่ทราบว่ามีบุคคลอื่นซ่อนตัวอยู่ใต้โต๊ะด้วย และเมื่อนักเรียนเผลอเราก็จะแทนที่คนแรก ด้วยคนที่ซ่อนอยู่ ซึ่งคนที่สองนั้นหน้าตาแตกต่างจากคนแรก และพวกเขาก็ยังสวมใส่เสื้อผ้าที่แตกต่างกัน แต่นักเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่สังเกตเห็นถึงความแตกต่าง เราทำการทดลองหลายครั้งและผลลัพธ์ส่วนใหญ่ก็เหมือนกันเสมอ

ความสำเร็จของเราเป็นเพียงสาเหตุของการทำตามใจตัวเอง

คุณอาจจะไม่เชื่อสิ่งที่เรากำลังจะบอกแต่เราอยากให้คุณลองเปิดใจรับฟังข้อมูลเหล่านี้ก่อน
จากการศึกษาเราได้รวบรวมผู้คนและแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ทั้งคู่ลดอาหาร เพื่อควบคุมน้ำหนักและก่อนจะทำการเลือกของรางวัล กลุ่มแรกได้รับการยกย่องและชื่นชมในความสำเร็จของการคุมอาหารในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่กลุ่มที่สองซึ่งต้องคุมอาหารเหมือนกันเราไม่พูดอะไรเลย หลังจากนั้นพวกเขาทั้งหมดต้องเลือกระหว่าง ส้มหรือช็อกโกแลตบาร์ 85% ของผู้ที่ได้รับคำชมจะเลือกช็อกโกแลต แต่ในกลุ่มที่สองมีเพียง 58% เท่านั้นที่เลือกช็อกโกแลต

นั้นเพราะสมองของเราชอบหาข้อแก้ตัวสำหรับการทำตามใจตัวเอง หรือ ที่ใครหลาย ๆ คนเรียกว่าการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิต ซึ่งนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของจุดประสงค์ที่ตั้งใจไว้ก็ได้ ลองนึกภาพว่าคนที่กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างการพยายามออกกำลังทุกวัน เมื่อคุณชมพวกเขามากเกินไปพวกเขามีแนวโน้มที่จะเริ่ม หยุดออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด บางคนอาจจะหยุดยาวเลยเพราะสมองถูกกระตุ้นว่าที่ทำมามันดีมากมากเลย และนั้นคือข้อแก้ตัวที่จะละเลยสิ่งที่เราจะทำ นั้นเพราะการพยายามออกกำลังนั้นต้องใช้พลังงานและพลังใจในการฝืนตัวเองอย่างมาก ดังนั้นหากคุณตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอะไรสักอย่าง คุณต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และหากใครมาชื่นชมพยายามเตือนตัวเองว่าเรายังไม่ดีขนาดนั้น และ ต้องทำต่อไปอีก คุณถึงจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

ยิ่งคุณกังวลกับปัญหาอะไรมากเท่าไหร่คุณจะรู้สึกว่าคนอื่น ๆ โชคดีที่ไม่เจอปัญหาเหมือนคุณ


มีการทดลองง่ายๆ คือเราจะให้เลือกภาพคนจากทั้งหมดที่เตรียมมา 3 ภาพ หนึ่งในภาพถ่ายนั้นเป็นภาพคนที่เป็นรูปร่างจริง ๆ ของเค้า ภาพถ่ายที่สองได้รับการแก้ไขเพื่อให้คนนั้นดูอ้วนขึ้นและภาพที่สามก็ถูกดัดแปลงเพื่อทำให้พวกเขาดูผอมลง จากนั้นผู้เข้าร่วมทดสอบจะถูกถามว่าคนในภาพนั้นรูปไหนคือรูปร่างที่แท้จริง ผลลัพธ์นั้นน่าสนใจทีเดียว ถ้าคนที่เลือก พอใจกับร่างกายของตัวเองและไม่มีปัญหาใดๆ พวกเขาสามารถบอกภาพถ่ายต้นฉบับจากภาพปลอมได้อย่างง่ายดาย หากมีคนกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตัวเองหรือว่าผอมเกินไปพวกเขาเลือกภาพถ่ายที่ตรงข้ามกับปัญหาของพวกเขา การทดสอบเดียวกันนี้สามารถทดสอบกับปัญหาอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันได้ จากข้อมูลนี้ข้อสรุปคือความเป็นจริงในสายตาของเรานั้นบิดเบือนไปขึ้นอยู่กับความไม่มั่นคงของเราเอง นั้นคือเมื่อคุณคิดว่าตัวเองผอมไปคุณก็จะรู้สึกว่า รูปร่างสมบูรณ์คือสิ่งที่ควรจะเป็นและคุณก็จะถูกทำให้มองเห็นว่าคนอื่น ๆ มีรูปร่างแบบนั้นซึ่งมันดีมาก ในทางกลับกันคุณสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากยอมรับในสิ่งที่คุณมีและคุณเป็นก่อน เมื่อเรายอมรับได้ คุณก็จะสบายใจขึ้นและความสบายใจนี้เองที่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นมั่นใจขึ้น และนั้นเองที่จะทำให้คุณรักตัวเองในแบบที่เป็นและเมื่อคุณมีความสุข คนรอบๆ ข้างคุณก็จะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนั้น และจะรักในสิ่งที่คุณเป็นเช่นเดียวกัน

สมองไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างความจริงหรือจินตนาการ

© depositphotos

มีทฤษฎีที่บอกว่า สมองมีการตอบสนองระหว่างสิ่งที่คุณทำจริง ๆ เหมือนกันกับสิ่งที่คุณเพียงแค่คิด
– นักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองโดยขอกลุ่มคนที่เข้าทดสอบเล่นเปียโนและกลุ่มอื่นก็ถูกขอให้จินตนาการว่าพวกเขากำลังเล่นเปียโน ปฏิกิริยาของคลื่นสมองของทั้ง 2 กลุ่มออกมาคล้าย ๆ กัน ในการทดลองอื่นนักวิทยาศาสตร์ขอให้คนกลุ่มหนึ่งนึกภาพอาหารที่มองไม่เห็นและคิดว่าได้กินมัน ผู้เข้าร่วมการทดลองเคี้ยวมันและกลืนชิ้นส่วนของอาหารที่พวกเขาจินตนาการลงไป ผลก็คือพวกเขารู้สึกหิวน้อยลง
– ความคิดและความรู้สึกของเราเชื่อมโยงกัน ปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายเกิดขึ้นไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นจริงหรือในจินตนาการ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกังวลมากเกินไปตลอดเวลาคุณสามารถเพิ่มระดับของ cortisol (ฮอร์โมนความเครียด) ในเลือดของคุณ ข่าวดีก็คือหลักการเดียวกันนี้ใช้ได้กับเซโรโทนิน (ฮอร์โมนแห่งความสุข) ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าคุณมีความสุขคุณก็จะยิ่งรู้สึกสบายใจ

แบ่งปันความคิดของคุณเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่อธิบายไว้ในบทความนี้ในเพจของเรา!

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน