ทำไมความอยากทานอาหารจึงแตกต่างกันตามช่วงวัย

มนุษย์ กับ อาหาร เป็นสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นมาก เราจะต้องทานอาหารทุกวัน นอกจากนั้นอาหารยังมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ที่ส่งผลต่อร่างกายของเรา ตัวอย่างเช่น ตอนที่เรากินไม่ได้แปลว่าเกิดจากความหิวของร่างกายทุกครั้งบางครั้งการอยากกินอาหารก็อาจจะเกิดเพราะโฆษณาและโปสเตอร์อาหารจำนวนมากที่อยู่รอบตัวเรา นอกจากนี้ความอยากอาหารของเรายังสามารถถูกปลุกขึ้นมาให้ทำงานได้ด้วยปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท้องว่างเลย ดังนั้นยิ่งเราบริโภคมาก ร่างกายของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นและส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวของเราได้ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่าความอยากอาหารของมนุษย์นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของคนเราด้วย และถ้าเรารู้ขั้นตอนต่าง ๆ และความสัมพันธ์บางอย่างก็จะช่วยให้เราปรับปรุงเรื่องการทานอาหารและรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาได้ง่ายขึ้น
พวกเราสนใจหัวข้อการศึกษานี้มากและเราอยากจะแบ่งปันข้อมูลนี้กับเพื่อน ๆ เกี่ยวกับ “อายุและความอยากอาหาร” เพื่อให้เพื่อนๆ สามารถทำตามขั้นตอนการบริโภคอาหารที่จำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณหรือคนที่คุณรัก .
ในช่วง 10 ปีแรก : 0 ถึง 10 ปี
เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากเพราะ นิสัยการกินในวัยเด็กสามารถมีผลต่อไปเมื่อเราเติบโตขึ้น ดังนั้นเด็กที่ทานอาหารต่อมื้อเป็นจำนวนมากและเลือกทานบางชนิด ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ทานอาหารเกินความจำเป็นเช่นกัน หากผู้ปกครองไม่ระมัดระวังเรื่องการกินจุกจิก หรือ การกินขนมที่เกินความจำเป็น เพราะนั้นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับการกินอาหารที่ไม่จำเป็นตลอดเวลา ร่วมทั้งการที่ไม่หัดให้ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ หรือ ทานผักผลไม้เป็นประจำก็จะเป็นนิสัยการกินที่ไม่ดีติดตัวไปด้วย จากการวิจัยพบว่าเด็กมีพฤติกรรมการกินแบบเดียวกับพ่อแม่ ดังนั้นสภาพแวดล้อมของพวกเขาควรจะเป็นในเชิงบวกมีความสมดุลและควรมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพเช่นผักในมื้ออาหารทุกมื้อ นอกจากนี้ยังเป็นการดีสำหรับเด็กที่จะควบคุมสัดส่วนอาหารของพวกเขา อย่างไรก็ตามการบังคับให้พวกเขากินทุกอย่างบนจานให้หมด ทำให้ความสามารถในการฟังสัญญาณของความหิวโหยและความอยากอาหารของร่างกายลดลง และนำไปสู่น้ำหนักเกินได้
ช่วงที่สอง: 10 ถึง 20 ปี

ในช่วงนี้วัยรุ่นจะมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโต ในช่วงนี้คนหนุ่มสาวต้องกินอาหารเพื่อสุขภาพและมีสารอาหารที่ช่วยให้การเติบโตของร่างกายเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และ เพียงพอนอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการกินในอนาคตอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หากไม่มีคำแนะนำที่เหมาะสมคนหนุ่มสาวมักจะเลือกอาหารที่ไม่เสียเวลาในการรอ และชอบทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะมีผลตามมาในวัยผู้ใหญ่ อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์ยังตั้งข้อสังเกตว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการขาดสารอาหารมากกว่าเนื่องจากช่วงนี้ผู้หญิงจะโตเร็วกว่าผู้ชายและจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่จำเป็นมากกว่า
ช่วงที่สาม: 20 ถึง 30 ปี

ช่วงอายุที่เข้าสู่ฐานะของผู้ใหญ่ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตซึ่งจะมีผลต่อการกินอาหารโดยตรง เพราะหลาย ๆ คนต้องนั่งโต๊ะทำงานใน office  ไม่ได้ออกกำลัง หรือ เดินเรียนเหมือนช่วงก่อนหน้านี้ เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการทำงาน ในช่วงนี้ร่างกายจะส่งสัญญาณอย่างชัดเจนเมื่อหิวข้าว แต่สัญญาณที่ส่งไปเพื่อปฏิเสธอาหารเมื่ออิ่มกลับจะอ่อนแอลงมาก นั้นคือคุณจะพบว่าคุณทานมากกว่าแต่ก่อนและบางครั้งถึงขนาดที่เรียกว่าทานจนเดินไม่ไหวก็มีเพราะ ไม่รู้ว่าตัวเองอิ่มแล้ว การศึกษาอธิบายว่า นี่เป็นเพราะมีปัจจัยทางร่างกายและทางด้านจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความอยากอาหารซึ่งกระตุ้นให้คุณกินต่อไปแม้ว่าพวกเขาจะไม่หิว อย่างเช่นเวลาไปทานอาหารบุฟเฟต์ก็จะทานแบบเอาปริมาณ เพราะทานได้ไม่จำกัด ซึ่งจริง ๆ แล้วเกินความต้องการของร่างกายไปเยอะมาก
ในช่วงอายุนี้สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้วิธีการดูแลร่างกายของตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคที่มากเกินไป และควรเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยและโปรตีนที่ช่วยให้คุณรู้สึก “อิ่ม” ได้นานมากขึ้น และลดผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยน้ำตาลและไขมันลง ที่สำคัญคือการจัดตารางเวลาให้สามารถออกกำลังกายได้ทุกวัน หรือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
ช่วงที่สี่: 30 ถึง 40 ปี

เมื่อมาถึงจุดนี้คนส่วนใหญ่จะยิ่งทำงานหนักมากขึ้น และจะเริ่มได้รับผลกระทบจากความยากลำบากของการทำงานที่ยากขึ้น ซึ่งจะเริ่มส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหารและความอยากอาหารโดยตรง ซึ่งมันสามารถก่อให้เกิดพฤติกรรมที่พัฒนาขี้นไปในทางที่ดีหรือทางตรงกันข้ามได้ กุญแจสำคัญในการเปลี่ยนนิสัยการกินที่ไม่ดีมักเกิดจากสภาพแวดล้อมของการทำงานหรือสภาพแวดล้อมที่บ้าน ตัวอย่างเช่น ท่าที่ทำงานของคุณไม่มีร้านขายอาหารหรือผลไม้สดเลย ทำให้ต้องทานขนมห่อ หรือ น้ำหวานมาทานในที่ทำงาน ซึ่งขนมถุงเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีแคลอรีสูง ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าที่จะแทนที่ขนมเหล่านั้นด้วยอาหารและผลไม้สดที่ดีต่อสุขภาพ
ช่วงที่ห้า: 40 ถึง 50 ปี

เมื่อมาถึงในช่วงเวลานี้มันความอยากทานอาหารจะลดลงอย่างมาก และร่างกายก็จะปรับตัวเรื่องระบบต่าง ๆ ให้ทำงานน้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นมันจะยิ่งยากมากที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะสมองจะเริ่มชินกับการทำงานและ ปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยพยายามทำให้รูปแบบวงจรชีวิตในแต่ละวันวนไปแบบซ้ำ ๆ และเราก็ชอบที่จะให้มันเป็นแบบนั้นซะด้วยสิ ดังนั้นในช่วงนี้หากคุณต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง คุณต้องมีแรงกระตุ้นที่ยิ่งใหญ่ และ มีกำลังใจที่ช่วยส่งเสริมให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ช่วงที่หก: 50 ถึง 60 ปี

© Kzenon / Depositphotos
เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปมวลกล้ามเนื้อเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “Sarcopenia” การบริโภคสารอาหารจะยิ่งน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ
ดังนั้น ในช่วงนี้อาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยดูแลรักษาสุขภาพ
ช่วงที่เจ็ด: 60 ถึง 70 ปี

© DGLimages / Depositphotos
ในช่วงวัยชราร่างกายจะเปราะบางเพราะน้ำหนักจะหายไปอย่างมาก เนื่องจากความอยากอาหารและความหิวแทบจะหายไปเลยก็ว่าได้ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในวัยนี้จะทานอาหารน้อยมาก ๆ ดังนั้นคุณควรเพิ่มแรงกระตุ้นในการทานอาหารด้วยการ รวมกลุ่มครอบครัว หรือ กลุ่มเพื่อน เพราะจะทำให้คนวัยนี้ทานอาหารได้มากขึ้น
ความอยากอาหารของคุณอยู่ในช่วงใด และคุณต้องทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ เพื่อปรับปรุงนิสัยการกินของคุณ
บอกเราในความคิดเห็นสิ!

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน