สำหรับเหล่าบรรดาพ่อครัวแม่ครัวมืออาชีพการทำอาหารน่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะเหล่าบรรดานักปรุงอาหารมืออาชีพเหล่านั้นผ่านการทำอาหารจำนวนนับไม่ถ้วนมาแล้วอีกทั้งก่อนที่จะได้ลงมือทำอาหารอย่างที่เราได้เห็นในวันนี้พวกเค้ายังต้องผ่านการร่ำเรียนจากเหล่าบรรดาผู้ฝึกสอน ฝึกฝนจากงานพื้นฐานเล็กๆน้อยๆอย่างการเตรียมวัตถุดิบหรือขั้นตอนการซื้อและเก็บรักษาจนไปถึงความรู้เล็กๆน้อยๆที่ควรจะทราบในการปรุงรสชาติและจัดจานอาหารให้ดูน่ารัปทานมากขึ้นนั้นอง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่การทำอาหารออกมาสักหนึ่งจานนั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยสำหรับพ่อครัวแม่ครัวเหล่านี้ แต่สำหรับมือใหม่อย่างพวกเราละหากต้องการที่จะทำอาหารอะไรสักอย่างหนึ่งให้ออกมาสวยงามและน่ารับทานแบบนั้นก็คงต้องใช้พลังและเวลาสักหน่อยอีกทั้งมันยังไม่การันตีเรื่องของรสชาติอาหารให้แต่ละจานอีกด้วย และวันนี้พวกเราชาวเพลินเพลินก็เลยอยากจะลองเอาเกล็ดเคล็ดลับความรู้ที่จะทำให้เพื่อนเพื่อนได้มีความเข้าใจในการทำอาหารและทำให้กำทำอาหารของเพื่อนเพื่อนนั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาอีกสักนิดนั้นเอง
มาลองดูกันเลยดีว่าว่าจะมีเคล็ดลับอะไรกันบ้างที่เรานำมาบอกเพื่อนเพื่อนให้ได้ฟังกันในวันนี้ และเรารับรองเลยว่าอย่างน้อยๆการทำอาหารของเพื่อนเพื่อนถึงแม้ที่ผ่านมามันจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่เมื่อได้อ่านเรื่องราวเหล่านี้แล้วมันจะต้องพัฒนาขึ้นได้อย่างแน่นอน
การเก็บรักษาอาหารใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นเปรียบเหมือนตัวแปรสำคัญในการทำอาหารเลยก็ว่าได้
© Depositphotos.com
แน่นอนว่าวัตถุดิบที่สดใหม่ย่อมให้คุณประโยชน์และรสชาติที่ดีเยี่ยมแต่เราก็ไม่สามารถจัดหาสิ่งเหล่านั้นมาได้ทุกวันอย่างแน่นอนดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติมากที่จะเห็นผู้คนนำวัตถุดิบเก็บไว้ในช่องแช่แข็งเพื่อคงใช้งานได้หลายหลายวัน แต่การเก็บวัตถุดิบด้วยความเย็นแบบนี้คุณก็ต้องมีวิธีในการจัดเตรียมอาหารที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย และขั้นตอนที่ถูกต้องนั้นก็คือนำวัตถุดิบจากช่องแช่แข็งนั้นมาไว้ในช่องเย็นแบบธรรมดาเพื่อให้คลายความเย็นแต่ก็ยังคงรักษาอุณหภูมิเย็นส่วนใหญ่ไว้ได้โดยระยะเวลาที่เหมาะสมก็อยู่ที่ราว ๆ 24 ชั่วโมงก่อนการทำอาหารนั้นเองและก่อนทำอาหารก็นำมาไว้ที่อุณหภูมิห้องสัก1 -2 ชั่วโมงเพื่อให้แกนกลางของวัตถุดิบคลายความเย็นออกแล้วแบบนี้การปรุงอาหารของเราจะสุกได้อย่างทั่วถึงทั้งชิ้นเลยนั้นเอง
อุปกรณ์ทำครัวคืออีกหนึ่งสิ่งที่คุณควรมีให้ครบ
© Depositphotos.com
อุปกรณ์อย่างหม้อใบขนาดแตกต่างกันสัก 3-4 ใบเพื่อใช้ทำอาหารในปริมาณที่แตกต่างกันเพราะการใช้ภาชนะที่เล็กเกินไปก็จะทำให้เราปรุงอาหารไม่สะดวกหรือหากว่าใหญ่เกินไปก็จะทำให้ความร้อนไม่ทั่วถึงนั้นเอง และนอกเหนือจากสิ่งนี้แล้วอุปกรณ์สำหรับใช้ในการหันตัดสับวัตถุดิบก็ควรมีไว้ให้ครบเพราะวัตถุดิบบางอย่างนั้นก็เหมาะสมที่จะใช้การตัดแบ่งที่แตกต่างกัน
ขั้นตอนการหุงข้าวแบบง่ายๆเมื่อคุณไม่มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
© Depositphotos.com
แน่นอนว่าบ้านเรายอมต้องมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเพื่อใช้งานอยู่แล้วแต่บางครั้งเราก็ต้องออกไปพักหรือเที่ยวนอกสถานที่ซึ่งการหุงข้าวด้วยการใช้เตานั้นก็ไม่ยุ่งยากเลยเพียงแค่เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ นั้นคือควรใช้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม โดยทั่วไปน้ำหนึ่งถ้วยต่อข้าว 1/2 ถ้วยตวง ขึ้นอยู่กับชนิดของข้าวและไม่ควรใช้ไฟแรง ให้รอเวลาโดยไม่ต้องกวนข้าวประมาณ 15 ถึง 25 นาทีสำหรับข้าวขาวและประมาณ 45 นาทีสำหรับข้าวกล้อง เมื่อถึงเวลาก็เพียงแค่เปิดฝาสังเกตุดูหรืออาจจะลองชิมก็พอ และที่สำคัญห้ามค้นเด็ดขาดเพราะนั้นจะทำให้ข้าวแตกและกระจายตัวออกเป็นแป้งหากดูแล้วว่าข้าวสุกแล้วแต่น้ำยังเหลือเยอะให้รินน้ำออกแทน
อย่างเพิ่งตัดแบ่งสเต็กทันที่ทีออกจากเตา
© Depositphotos.com
เครล็ดลับง่ายๆ อย่างการที่เราจะไม่ปรุงเนื้อทันทีที่เรานำออกจากตู้เย็นแล้ว หลังจากที่เราอบเสร็จใหม่ๆเรายังอยากให้เพื่อนเพื่อนอย่าเพิ่งตีดแบ่งอีกด้วยเพราะอาหารเหล่านี้นั้นจะมีน้ำและความชุ่มช่ำอยู่ในตัวอยู่แล้วหากเราตัดแบ่งทันทีที่ทำเสร็จแต่ยังไม่ได้ทานมันก็จะทำให้เราพลาดความอร่อยในส่วนนี้ไปนั้นเอง ดังนั้นจึงควรกะเวลาและหั่นเสริฟ์สิ่งเหล่านี้ก่อนทานอาหารนั้นเอง
การใช้น้ำมันผิดประเภท
© Depositphotos.com
เพื่อนเพื่อนอาจจะยังไม่ทราบว่าชนิดของน้ำมันที่เราสามารถนำมาปรุงอาหารได้นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ไม่เหมือนกันเพราะบางชนิดเหมาะสำหรับการทอดและผัด ในขณะที่บางชนิดอาจมีกลิ่นหากใช้ที่อุณหภูมิสูง อย่างเช่นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์จะมีสีเข้มกว่าและมีรสชาติเข้มข้นกว่า เหมาะสำหรับเตรียมซอสและผัดที่อุณหภูมิต่ำ และน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน เหมาะที่สุดสำหรับการทอด การคั่ว และการอบ น้ำมันข้าวโพดมีความนุ่มและใช้สำหรับอบ คั่ว และทอด น้ำมันคาโนลามาจากต้นเรพซีดและสามารถใช้สำหรับการอบ ย่าง ผัด และทอด ดังนั้นลองเลือกใช้สิ่งเหล่านี้ให้เหมาะสมแล้วมันจะช่วยทำให้อาหารของคุณได้รสชาติที่แตกต่างไปอย่างแน่นอน
การอุ่นภาชนะสำหรับทำอาหารอย่างกะทะหรือหม้อก่อนเริ่มปรุงอาหาร
© Depositphotos.com
สิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ได้คิดถึงนั้นก็คือการที่เราเริ่มปรุงอาหารทั้งๆที่กระทะหรือหม้อยังเย็นอยู่ แล้วผัดหรือคนวัตถุดิบเหล่านั้นไปเรื่อยจนสุก ซึ่งการทำแบบนั้นนอกจากจะทำให้อาหารเละหรือเปื้อยเละจนเกินไป
การชิมอาหารระหว่างเตรียมอาหารทุกครั้งคือสิ่งจำเป็น
© Depositphotos.com
บางคนอาจจะคิดว่าทำตามสูตรอาหารที่เรามีมาแล้วจะทำให้รสชาติของอาหารนั้นคงทีอย่างแน่นอนและละเลยการชิมรสชาติของอาหารไป ซึ่งนั้นก็ไม่ถูกไปซะทั้งหมดนั้นก็เพราะว่าอันที่จริงแล้วมันยังมีปัจจัยอื่นๆจากวัตถุดิบที่เราใช้ในการปรุงอาหารที่อาจจะทำให้มีน้ำมากขึ้นหรือทำให้รสชาติอาหารของเราเปลี่ยนไปได้อีกนั้นเอง ดังนั้นการชิมอาหารทุกครั้งคือสิ่งจำเป็นเพื่อให้คุณมั่นใจในรสชาติอาหารเหล่านั้นนั้นเอง
เติมน้ำมันลงในหม้อต้มเส้นพาสต้าคือสิ่งที่หลายคนทำแต่อันที่จริงแล้วมันต้องเลือกด้วยว่าคุณกำลังจะทำอะไร
© Depositphotos.com
แน่นอนว่าการเติมน้ำมันลงในน้ำที่ใช้ต้มเส้นพาสต้าไม่เพียงแต่ป้องกันไม่ให้แป้งและเส้นติดกันได้ ซึ่งถ้าคุณจะทำเมนูประเภทผัดละก็มันก็สามารถใส่ลงไปได้ แต่ถ้าหากคุณกำลังพลาสต้าแล้วราดซอสต่าง ๆ แล้วละก็การเติมน้ำมันลงไปคือสิ่งที่ไม่ควรทำนั้นเพราะว่าจะทำให้ซอสติดยากขึ้น เนื่องจากไขมันไม่ผสมกับน้ำและจะทำให้เวลาคุณตักเส้นขึ้นมาก็จะได้รสชาติของซอสที่น้อยลงนั้นเอง ดังนั้นครั้งหน้าก็ตรวจสอบกันก่อนว่าจะทานแบบไหนก่อนที่จะต้มเส้นกันด้วยละ
ขอปิดท้ายด้วยเรื่องที่จะทำให้เพื่อนเพื่อนเสียน้ำตากันสักหน่อยเพราะมันคือเรืองของการหั่นหัวหอมนั้นเอง ที่หลายคนหั่นที่ไรเป็นได้แสบตาร้องไห้กันตลอดนั้นก็เพราะการหั่นไปทำให้เซลล์ของหอมนั้นแตกและปล่อยก๊าซออกมาซึ่งเมื่อไปเข้าก็จะทำให้แสบตา โชคดีที่มีวิธีแก้ไขคือ ใช้มีดคมๆ หั่นตามทิศทางของเส้นใยของหัวหอม นั่นคือลายที่ลากจากโคนถึงโคนอีกฝั่ง หรือตัดตามเส้น (จูเลียน) สิ่งนี้จะรับประกันละอองลอยที่สร้างความระคายเคืองน้อยลง
เรื่องราวเหล่านี้น่าจะทำให้เพื่อนเพื่อนทำอาหารได้อย่างสนุกสนานมากขึ้นนะ
ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน