9 ท่าทางที่แค่ทำให้ได้ก็สบายขึ้นเยอะแล้ว

ในทุกวันนี้ที่เราต้องทำงาน WFH หรือ นั้นก็คือการได้ทำงานอยู่ที่บ้านนั้นเองซึ่งเราจะขอบอกเลยว่าสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งเก้าอี้ที่ทำงานช่างไม่เหมาะสมกับเราเลย ดังนั้นวันนี้เราจะมาบอกให้เพื่อนเพื่อนได้ทราบถึงท่าทางการยืน การเดิน การนั่ง ที่เป็นสาเหตุของoาการเกร็งของร่างกายส่วนต่าง ๆ และถ้าเพื่อนเพื่อนยังไม่ปรับเปลี่ยนแล้วละก็มันก็จะตามมาด้วยการปวดอย่างแน่นอน เพื่อการทำงานและดำเนินชีวิตในแบบนี้ซึ่งเราคิดว่าคงเป็นอีกระยะยาว เราต้องเริ่มปรับตัวด้วยการเริ่มออกกำลังกายอย่างง่ายๆ เพื่อปรับวิธีการนั่งยืนเดินและนั่ง ให้ถูกท่าและมันก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากมายอะไรในการออกกำลังกายแต่ละท่า ในความเป็นจริงมันเป็นเพียงแค่การทำให้ตัวเองอยู่ในท่าทางที่ถูกต้องด้วยการทำให้เรารู้สึกตัวว่าคุณกำลังนั่งอยู่ท่าไหน และต้องแน่ใจว่าคุณไม่นั่งงอตัวบนเก้าอี้หรือหลังค่อมเมื่อมองไปที่โทรศัพท์

พวกเราได้รวบรวม 9 เคล็ดลับที่จะช่วยปรับท่าทางของคุณ และมันง่ายมาก ซึ่งคุณสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

1. ลองแปะเทปพิเศษเป็นรูปตัว “X” ที่ด้านหลังของคุณ

หลักการมันง่ายมากมากนั้นคือให้เรายืนตรงเก็บพุงและทำไหล่ให้ยึดหรือที่เรียกว่าการผ่ายไหล่ออก แล้วทำการติดเทปกาวชนิดพิเศษลงไปที่ด้านหลังให้เป็นรูปตัวเอ็กซ์ เท่านั้นเองและคุณก็ออกไปใช้ชีวิตทุกอย่างเหมือนเดิมเพียงแต่เพิ่มความรู้สึกตัวเข้าไปด้วยการสังเกตว่า รูปตัวเอ็กซ์ที่ด้านหลังของคุณยังเป็นรูปทรงเดิมอยู่หรือไม่ถ้าไม่ก็ขยับหรือปรับตัวให้มันกลับไปเป็นเหมือนเดิมก็เท่านั้นเอง ฟังดูง่ายแต่จริงจริงแล้วเราแทบไม่รู้ตัวเลยว่าเรากำลังนั่งหรือเดินผิดอยู่ดังนั้นจงมีสติให้มากขึ้นด้วยละ

2. วางเท้าราบกับพื้นขณะนั่ง

หลายคนใช้เวลาเกือบทั้งวันในท่านั่ง ซึ่งทำให้การมีท่านั่งที่ถูกต้องมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องกระจายน้ำหนักไปทั่วสะโพกและเท้าของคุณอย่างเท่าเทียมกัน ทำได้โดยงอเข่าเป็นมุมฉากแล้ววางเท้าราบกับพื้น หากเท้าของคุณไม่ถึงพื้นคุณสามารถใช้หนังสือหรือซื้อที่วางเท้าได้

3. หนุนหลังส่วนล่างของคุณด้วยผ้าขนหนูที่ม้วนขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้หลังงอ

หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของoาการเกร็งหลังส่วนล่าง คือการนั่งในท่าที่ไม่สบายตัว โชคดีที่คุณสามารถปรับท่านั่งของคุณได้อย่างง่ายดายด้วยความช่วยเหลือของ “อุปกรณ์พยุงเอว” เช่นผ้าขนหนู ประเด็นหลักคืออุปกรณ์ที่คุณใช้ควรรองรับ และวางไว้ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องและขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปเพื่อช่วยรองรับแนวโค้งที่ไปข้างหน้าตามธรรมชาติของกระดูกส่วนเอว

4. ติดโพสต์อิทในสายตาของคุณเพื่อเตือนท่าทางของคุณ

© shutterstock.com, © Depositphotos.com

การรับรู้ท่าทางมีความสำคัญมากในกระบวนการปรับท่าทางที่ดีต่อสุขภาพในชีวิตประจำวันของคุณ ในการทำให้ตัวเองคิดถึงท่าทาง (ก่อนที่หลังของคุณจะเริ่มเจ็บ) ในระหว่างวันคุณสามารถเริ่มต้นด้วยสิ่งง่ายๆ เพียงแค่วาดรูปท่าทางบนโพสต์อิทแล้วติดไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเตือนตัวเองอย่างรวดเร็ว ให้นั่งตัวตรง!

5. เชื่อมโยงการตรวจท่าทางกับสิ่งที่คุณทำเป็นประจำ

สิ่งที่เราทำเยอะอย่างเช่นการก้มดูโทรศัพท์ของคุณการจิบน้ำ หรืออ่านบทความผ่านหน้าหนังสือ เป็นสิ่งที่คุณอาจทำหลายต่อหลายครั้งต่อวัน ดังนั้นเพื่อสร้างการรับรู้ท่าทางเพิ่มเติม คุณสามารถสอนตัวเองให้ถามคำถามกับตัวเองว่า: “คุณกำลังนั่งถูกต้องหรือไม่” โดยคุณควรทำสิ่งนี้ทุกครั้งที่คุณทำกิจกรรมปกติที่คุณเลือกเช่นทุกครั้งที่ก้มดูโทรศัพท์เป็นต้น

6. ก่อนเริ่มขับรถให้นั่งตัวตรงก่อนแล้วจึงปรับกระจกหลังให้เหมาะสม

© Depositphotos.com

ก่อนจะเริ่มขับรถคุณต้องปรับกระจกมองหลังเพื่อให้มองเห็นถนนข้างหลังได้ง่าย คุณต้องพยายามนั่งตัวตรงก่อนทำการปรับเปลี่ยนกระจก เพื่อบังคับให้คุณต้องมีท่าทางที่ดีขณะขับรถในขณะที่สามารถมองเห็นข้างหลังได้ การมองเห็นถนนอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเมื่อจำเป็นเท่านั้น

7. เก็บมือของคุณไว้ในกระเป๋าหลังเมื่อคุณยืนเฉยๆ

© Depositphotos.com

เมื่อยืนอยู่ท่าทางที่ดีที่ถูกเรียกว่า “การยืนตรง” แต่คนส่วนใหญ่กลับทำไม่ได้และกลายเป็นว่าเรามักจะคุ้นเคยกับท่าทางที่ไหล่ขยับไปด้านในและส่วนบนเอนไปข้างหน้า ซึ่งพวกเราก็มีท่าฝึกง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนนิสัยนี้ได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น การเอามือเข้าไปในกระเป๋าหลังคุณเวลายืนนาน ๆ มันจะบังคับให้ไหล่เปิดขึ้น และคุณจะยืนตัวตรงขึ้นทันที

8. เดินขณะรับสาย

© Depositphotos.com, © Depositphotos.com

เราขอแนะนำว่าโทรศัพท์มือถือควรใช้ให้ห่างจากโต๊ะทำงาน หรือโซฟา เพราะท่านั่งคุยแล้วละก็คนส่วนใหญ่จะนั่งเท้าแขนหรือเอนไปด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้หยุดพักจากตำแหน่งและท่าทางที่คุณทำงานอยู่อย่างง่าย โดยคุณอาจออกไปเดินเล่นสักครู่พร้อมกับการคุยโทรศัพท์ไปด้วย เพราะจะทำให้คุณอยู่ในท่าทางที่สบายกว่าและการนั่งคุยยังทำให้คุณใช้โทรศัพท์นานเกินไปอีกด้วย

9. วางตำแหน่งคางแนวตรงของลำตัว

ตำแหน่งศีรษะบอกได้มากเกี่ยวกับท่าทางทั่วไปของร่างกายของคุณ คุณควรฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดตำแหน่งร่างกายของคุณให้อยู่ใต้ศีรษะ สิ่งนี้อาจฟังดูซับซ้อน แต่เคล็ดลับง่ายๆ คือให้คางของคุณซุกเข้าหาตัวและดึงศีรษะกลับมาด้านหลัง มันเหมือนกับการจินตนาการถึงเชือกที่ดึงส่วนบนศีรษะของคุณขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อให้ทั้งร่างกายและคอของคุณดูดี และยาวขึ้น

ถ้าเพื่อนเพื่อนมีสิ่งอื่นๆ ที่จะแนะนำแล้วละก็ลองแบ่งปันเคล็ดลับง่ายๆ ของคุณที่จะช่วยเตือนท่าทางของคุณในระหว่างวันกับเราด้วยละ และถ้าคุณได้ลองใช้เคล็ดลับง่ายๆ ของเราแล้วก็ช่วยบอกผลที่ตามมาด้วยละ
ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน