เรื่องจริงเบื้องหลังภาพไวรัลในอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้คนทั่วโลกได้รับข้อมูลที่หลากหลาย แต่คุณไม่สามารถเชื่อในสิ่งที่คุณเห็นในอินเตอร์เน็ตได้ทุกเรื่อง มีมและคลิปไวรัลยอดนิยมจำนวนมากเป็นของปลอม สิ่งต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ในอินเตอร์เน็ตและ Photoshop เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง

พวกเราจะเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในอินเทอร์เน็ต และอยากแบ่งปันภาพไวรัลที่ไม่ใช่เรื่องจริงบางส่วนกับคุณ

1. รูปกวางถูกตัดต่อเพิ่มเติมลงในภาพในภายหลัง

© TRAVEL / Twitter © Roland Epple / Unsplash

2. “ Lake Inneston ในเซาท์ออสเตรเลีย: ภาพซ้ายคือภาพใน Instagram, ภาพขวาคือภาพจริงที่ฉันถ่ายเอง”

© riptideprints_ / Instagram © vlookups / Reddit

3. คลองของเวนิสเป็นน้ำแข็งได้จริง … แต่ภาพนี้ไม่ใช่ของจริง

© unknown / Reddit © taver / Flickr © Daniel Kordan / Deviantart
คลองที่มีชื่อเสียงอย่างเวนิสสามารถเป็นน้ำแข็งได้ แต่มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก โดยปกติเมืองนี้ปล่อยความร้อนออกมามากและน้ำในลำคลองก็กร่อยเกินไป รูปภาพนี้ไม่ใช่ภาพจริง น้ำแข็งและหิมะดูเหมือนจะถ่ายจากทะเลสาบไบคาล, เอเซียติก, รัสเซีย

4. อาคารในจีนภาพนี้ดูน่าเหลือเชื่อ แต่ไม่ได้น่าเหลือเชื่อขนาดในภาพซ้ายมือนั้น

© trystane / Instagram © Shutterstock.com

5. ไม่มีป่ารูปหมีในญี่ปุ่น

ใน Facebook คุณอาจเคยเห็นภาพป่ารูปหมีที่ควรจะอยู่ที่ไหนสักแห่งในญี่ปุ่น ภาพนี้เป็นภาพวาดดิจิตัลจากศิลปินใน Instagram ชื่อ Fabien Barrau ที่บอกเล่าเรื่องราวของเกาะรูปหมี ก่อนที่มนุษย์จะเข้าไปในพื้นที่

6. รูปถ่ายแกรนด์แคนยอนถูกปรับแต่งให้ดูเหมือนว่าถ่ายจากอวกาศ

หลังจากที่โพสต์ภาพนี้ลง Reddit บางคนแปลกใจที่เห็นว่าแกรนด์แคนยอนดูใหญ่มากเมื่อมองจากอวกาศ แต่มันไม่ใช่เรื่องจริง ภาพนี้ถ่ายโดย Travis Odgers และน่าจะถ่ายจากเครื่องบินไม่ใช่ยานอวกาศ

7. รูปถ่ายของ Arnold Schwarzenegger ในตอนเด็กเป็นของจริง…แต่ไม่ใช่ฐานะนักท่องเที่ยว

© Hercules in New York / Filmpartners
รูปภาพนี้กำลังได้รับความนิยมบนโซเชียลมีเดียโดยอ้างว่าเป็นของหนุ่มอาร์โนลด์ในฐานะนักท่องเที่ยวในนิวยอร์ก ซึ่งเขายังไม่เป็นที่รู้จักในเวลานั้น จริง ๆ แล้วมันเป็นภาพนิ่งจากภาพยนตร์ Hercules in newyork ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เทคนิคถ่ายทำเกี่ยวกับช่วงเวลาที่อาร์โนลด์ มาที่สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960

8. สุนัขตัวนี้ไม่ได้คาบไฟเย็นจริงๆ

©sprinkle happiness

ภาพถ่ายนี้ปรากฏบ่อยครั้งบนเว็บไซต์โซเชียลมีเดียเช่น Tumblr แต่ช่างภาพตัวจริงได้มีคำเตือน: ประกายไฟถูกตัดต่อเพิ่มลงในภาพ ในความเป็นจริงสุนัขส่วนมากจะกลัวที่จะเล่นกับสิ่งที่มีประกายไฟ

9. ภาพนี้ไม่ได้มาจาก Woodstock

© Taking Woodstock / Focus Features
ภาพถ่ายที่อ้างว่ามาจาก Woodstock … แต่ไม่ได้เป็นเหตุการณ์จริง … เป็นมีมที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง ภาพที่เห็นด้านบนถูกอ้างว่าเป็นภาพจากงานเทศกาลทางประวัติศาสตร์ Woodstock แต่จริงๆแล้วมันมาจากภาพยนตร์ของ Ang Lee เรื่อง Taking Woodstock

10. ภาพนี้ไม่ใช่ภาพอียิปต์สมัยโบราณ … มาจาก Universal Studios Singapore

© verdandi_magic / Wikimedia Commons

11. ม้าลายที่มีลายเหมือนกับเชิงเทียน

© unknown / Imgur © stray_cat / Getty Images

13. ภาพถ่ายเหล่านี้มาจากการเล่นตลกวันเอพริลฟูลเดย์

ภาพถ่ายและวิดีโอของผู้ชายที่มีพุดเดิ้ลขนาดใหญ่เป็นที่นิยมในโลกออนไลน์ แม้แต่ The Dodo ก็แชร์วิดีโอของเขา อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องตลกในวันเอพริลฟูลเดย์ และเจ้าของสุนัข ช่างภาพที่ถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงคนนี้ คริสโตเฟอร์ ไคลน์ แบ่งปันภาพจริงของสุนัขเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันมีขนาดเหมือนปกติทั่วไป

14. กุ้งสีม่วงที่หายากไม่ได้ถูกจับได้จริงๆ ในเมืองเมน

แม้ว่ากุ้งก้ามกรามมีหลายสี แต่กุ้งมังกรสีม่วงที่เห็นด้านบนนั้นเป็นผลมาจาก Photoshop เพราะ Keith Potter ผู้ซึ่งอ้างว่าจับกุ้งที่หายากตัวนี้ได้ หลายสำนักข่าวรายงานเรื่องนี้ราวกับว่ามันเป็นเรื่องจริง แต่ไม่มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่ากุ้งมังกรสีม่วงมีอยู่จริง

15. การปั้นกระดาษฟอยล์แล้วนำเข้าไม่โครเวฟ ไม่ได้ทำให้มันเป็นลูกบอลเรียบๆ ได้… มันเป็นอันตรายนะ

ภาพไวรัลที่เคยหลอกคุณบ้างไหม? มาแบ่งปันกับเราในเพจของเรา!

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน