นั่งนิ่งๆ 2 ชั่วโมงก็สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ เทคนิคที่แม้แต่ไอสไตน์ก็ทำ

ปัจจุบันบางคนคิดว่าเวลาที่ใช้ไปในการ“ไม่ได้ทำอะไรเลย” นั้นไม่มีประโยชน์ แต่การศึกษาทางจิตใจที่ยิ่งใหญ่พิสูจน์ให้เห็นตรงกันข้าม อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ชอบฝันกลางวัน และจินตนาการว่ากำลังท่องคลื่นแสงด้วยความเร็วและสำหรับเขาแล้วคลื่นดูเหมือนน้ำแข็ง ซึ่งในที่สุดเขาก็สร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ชาร์ล ดาร์วินยังฝึกฝนวิธีนี้ และใช้สิ่งที่เรียกว่า “เส้นทางความคิด” เพื่อดำดิ่งลงไปในความคิดของตัวเองและไตร่ตรอง

พวกเราชอบเทคนิคการพัฒนาตนเองและสิ่งที่เรารักอย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนท้ายของบทความคุณจะพบว่าเวลาเพียง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์คุณสามารถปรับปรุงบางสิ่งบางอย่างของคุณได้อย่างมากแต่มันทำได้อย่างไรละ ไว้เพื่อนเพื่อนอ่านไปจนถึงตอนท้ายก็จะทราบเองนะ

ไอน์สไตน์เรียกสิ่งนี้ว่า “การจำลองทางความคิด”

© mirandakerr / instagram, © Michael W.Gorth / Wikimedia Commons

ไอน์สไตน์ มีการจำลองเหตุการณ์ทางความคิดอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น สำหรับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา เขาได้ทำการจินตนาการสิ่งต่าง ๆที่ต้องการทดสอบ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่ตกจากหลังคา และการเร่งลิฟต์ ซึ่งทฤษฎีที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาที่เป็นรากฐานของฟิสิกส์สมัยใหม่นั้นล้วนเกิดขึ้นจากจินตนาการของเขาและด้วยการนั่งนิ่ง ๆ คิดไปเท่านั้น

ซึ่งเราก็สามารถทำตามตัวอย่างของไอน์สไตน์ได้ โดยการจินตนาการสิ่งต่าง ๆ ในหัวของเราเอง เช่นจินตนาการถึงตัวเลือกและผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของสถานการณ์หนึ่ง ๆ แล้วถามตัวเองว่า “ถ้าฉันทำอย่างนั้นจะเกิดอะไรขึ้น”

การปล่อยใจให้ไหลไป

© The Big Short / Regency Enterprises

ลองหาเวลาหยุดคิด และวิเคราะห์ว่าคุณอยู่กำลังทำอะไรอยู่และตอนนี้หรือในช่วงนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่าคุณพอใจกับเป้าหมายหรือสิ่งที่ทำอยู่หรือไม่และคิดไปถึงแผนการในอนาคตของคุณที่คุณต้องการจะไปให้ถึงด้วยว่ามันคืออะไร จากนั้นปล่อยให้ตัวเองไหลไปกับความคิด ภายในมันจะทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและวิธีที่เราใช้ผ่านมาซึ่งมันสามารถทำให้ความคิดของคุณมีประสิทธิผลมากขึ้นได้อีกด้วย แต่อย่าลืมว่าเมื่ออกมาจากห่วงจินตนาการแล้วคุณก็ควรจะจดมันลงไปให้กระดาษอีกครั้งเพื่อจะได้นำกลับมาอ่านได้

การตั้งคำถามเพื่อถามตัวเอง

© Marcus Aurelius / pexels.com, © Marcus Aurelius / pexels.com

สำหรับบางคนการใช้เวลา 2 ชั่วโมงบน นั่งเล่นคอมไปเรื่อย ๆ อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่การใช้เวลา 2 ชั่วโมงในหนึ่งวันเพื่อสรุปสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำนั้นแทบจะไม่ได้ใครทำสิ่งเหล่านี้เลย ซึ่งมันเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้โดยคุณก็ทำได้โดยใช้แค่ปากกาและสมุดบันทึก แล้วตอบคำถามเพียงแค่สองสามข้อเท่านั้น เช่น “เป้าหมายในวันนี้ของเราคืออะไร และอะไรที่เราทำสำเร็จไปแล้วหรืออะไรที่ยังไม่สำเร็จ” คำถามต่อมาก็คือ “เราจะทำอะไรเพิ่มได้อีกเพื่อเร่งการบรรลุเป้าหมายให้เร็วขึ้นได้” , “ตอนนี้เรารู้สึกมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งที่ทำอยู่บ้างไหม” หรือ “ถ้าเราทำแบบนี้ต่อไปอีก 6 เดือนข้างหน้าเราจะเป็นอย่างไรบ้าง”

ออกไปพักผ่อนด้วยการไปเดินเล่นชมธรรมชาติ

©Picture Wild / Fox Searchlight

การเดินคนเดียวในสวนสาธารณะเป็นวิธีที่ดีในการใช้เวลากับความคิดของตัวเอง เพราะการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาตินั้นจะทำให้เราได้ทั้งความสบายใจและอากาศที่ดี ซึ่งเมื่อเราสบายใจย่อมทำให้การคิดและทบทวนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างดีขึ้น

ลองเขียนจดหมายถึงตัวเองในอนาคต

การเขียนจดหมายเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเตือนตัวเอง เนื่องจากคุณมีโอกาสสังเกตความคิดและความรู้สึกของตนเอง (ทั้งในฐานะผู้เล่าเรื่องและในฐานะผู้ฟัง) โดยคุณสามารถเขียนสิ่งต่าง ๆ เริ่มจากเป้าหมายที่มีและสิ่งที่ต้องการไว้และอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำลงไปและส่งมันไปให้ตัวเองในอีก 6 เดือน หรือ 1 ปีข้างหน้าเพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลานั้นคุณจะได้ตรวจสอบสิ่งที่คุณคิดจะทำและ สิ่งที่คุณได้ทำจริงจริงตามที่ผ่านมา

การใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นการตัดสินใจทีดี

© irinashayk /Instagram © camila_cabello / instagram

จากเพื่อนของเราคนนึงที่ได้ลองทำสิ่งนี้ด้วยตัวเอง โดยเขาตัดสินใจที่จะลองทำตามคำแนะนำหรือคำบอกเล่าของเหล่านักคิด ที่ทุกคนต่างพูดเหมือนกันว่าให้ลองใช้เวลาสัก 2 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์กับการอยู่กับตัวเองอยู่กับปัจจุบัน นั่งพักฟังเสียงหายใจของเราเอง ปล่อยวางความวุ่นวายทั้งหลาย โดยไม่ต้องคาดหวังสิ่งใด ๆ ซึ่งการทำแบบนี้ก็ฟังดูเหมือนการพักทั้งร่างกายและจิตใจของเราเองนั้นเอง และผลที่ได้จากการทำสิ่งนี้เพื่อนของเราก็บอกว่าหลายหลายสิ่งนั้นดีขึ้น ทั้งการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดรอบคอบขึ้นด้วย

แล้วเพื่อนเพื่อนละมีเคล็บลับหรือ วิธีการอะไรที่ดีดีแบบนี้บ้างหรือเปล่าถ้ามีก็ส่งมาให้เราได้ชมกันและเราจะได้แบ่งปันเรื่องราวดีดีกับเพื่อนเพื่อนของเราในเพจด้วยนะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน