20 ภาพเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ก่อนจะออกมาเป็นฉากหน้าแบบอลังการ

จากบทสัมภาษณ์ของ จอร์จ ลูคัสว่าทำไมถึงต้องรอเวลาอีกกว่า 20 ปี จึงจะกลับมาสร้างภาคแรกของสุดยอดภาพยนตร์อย่าง Star War  และคำตอบแห่งการรอคอยก็คือ การรอให้เทคโนโลยีการถ่ายทำภาพยนตร์พัฒนาขึ้นจนดีพอในการถ่ายทำ Star War ในแบบที่เขาคิด แต่ถึงกระนั้นเขาก็ต้องสร้างสตูดิโอเกือบทั้งหมดด้วยตัวเอง รวมถึงสร้างโปรแกรมตัดต่อวิดีโอเพื่อให้ได้ฉากที่ยอดเยี่ยมดูสมจริง โดยผู้กำกับในทุกวันนี้แทบจะไม่มีปัญหาในการสร้างสรรค์ภาพให้ออกมาอย่างที่ใจคิดอีกต่อไปเพราะ เทคโนโลยีการสร้างภาพ การใช้กล้องที่มีความเร็วสูงและคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังทำได้เกือบทุกอย่างที่ผู้กำกับต้องการ แต่ถ้าเราลบเอฟเฟ็กต์ทั้งหมดออกจากภาพยนตร์ออกละ เราเคยสงสัยไหมว่าจะเห็นอะไรแทน

ดังนั้นพวกเราได้รวบรวมรูปภาพและวิดีโอที่อยู่เบื้องหลัง ตอนนี้เราพร้อมที่จะแสดงให้คุณเห็นว่าภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร และเราเชื่อว่าคุณอาจจะไม่เชื่อเลยด้วยซ้ำว่าหลาย ๆ อย่างที่คุณเห็นในเรื่องหาของภาพยนตร์นั้นแท้จริงแล้วมันแทบจะไม่ได้มีอยู่จริง ๆ เลย

ในการถ่ายทำตัวละครที่ยิ่งใหญ่ใช้เพียงแค่แผ่นกระดาษแข็งแทนตัวละครวายร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

© KinoCheck International / youtube
ในเรื่อง Endgame หากนักแสดงที่กำลังเข้าฉากมองไปที่ดวงตาของ จอช โบรลิน ผู้รับบทเป็นธานอส นักแสดงคนอื่นๆในภาพยนตร์จะเล็งไปที่บริเวณอกของธานอส นั่นเป็นสาเหตุที่จอช โบรลิน ต้องสวมไม้ที่มีหน้าของธานอธไว้ที่ด้านหลังของเขาเพื่อให้นักแสดงคนอื่นจับจ้องได้ถูกตำแหน่ง

© KinoCheck International / youtube
นอกจากนี้ มันค่อนข้างยากที่จะทำการแสดงให้ออกมาแนบเนียนและน่าเชื่อถือ เพราะในขณะที่ซ้อมการถ่ายทำมีเพื่อน ๆนักแสดงคนอื่นๆ ร่วมลุ้นไปกับคุณแบบใกล้ชิดติดขอบฉากเลยทีเดียว

© starkboost / reddit
คุณอาจจะต้องหุบยิ้มหากเห็นตุ๊กตาที่ใช้ แทนกำหนดจุดมองสายตาของตัวละครแร็กคูน ชื่อ Rocket ในเรื่อง The Avengers and Guardians of the Galaxy แม้ว่าบทบาทนี้เป็นของฌอน กันน์

สำหรับนักแสดงที่ต้องแสดงเป็นตัวละครที่สร้างผ่าน computer graphic นั้นแทบจะไม่ต้องแต่งหน้าเลยก็เพราะว่า

© kahlkorver / reddit
ในท้ายที่สุดแล้วมันจะถูกแทนที่ด้วย computer graphic เช่นเดียวกับ Josh Brolin นักแสดงจาก The Avengers ซึ่งรับบทเป็น Hulk ของ Mark Ruffalo ก็ถูกสร้างขึ้นบนคอมพิวเตอร์เช่นกัน นั่นเป็นข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัด และมาร์ครัฟฟาโลในบทบาทของยักษ์เขียว นั้นแทบไม่เคยต้องทำผมและแต่งหน้าก่อนเข้าฉากเลยเพียงแต่ว่าต้องแลกกับการใส่ชุดพิเศษที่สร้างขึ้นมาเพื่อเก็บรายละเอียดของท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้า เพื่อนำมาเป็นตนแบบของโครงสร้าง computer graphic ่ต่อไป

© Marvel Entertainment / youtube
ภาพที่ออกมาแทบจะดูไม่ออกเลยว่านี้คือการใช้เทคโนโลยีผสมผสานกับการแสดงออกของคนจริง ๆ เพื่อสื่อสารอารมณ์กับนักแสดงท่านอื่น ๆ

© TomCruiseFor2020 / reddit
ในภาพยนตร์เรื่อง Avengers: Endgame นอกจากฉากในหนังแล้วทีมผู้สร้างยังตัดสินใจที่จะใช้ computer graphic กับอีกหลาย ๆ อย่างเพื่อการสร้างตัวละครที่ยอดเยี่ยมและสมจริง รวมถึงชุดของตัวละครบางฉากก็ใช้ชุดเสมือนจริง อย่างในบางช่วงเวลาที่ทีมธีโร่ใส่ชุดอวกาศแบบพิเศษสำหรับเดินทางข้ามเวลา ชุดเหล่านั้นก็ถูกสร้างบนคอมพิวเตอร์ เพราะทำได้สมจริงและยังง่ายกว่าการเย็บชุดจริง ๆ เสียอีก
เอฟเฟกต์ภาพสร้างพลังให้ฮีโร่

© Framestore / youtube
ถึงแม้จะมีแฟนหนังบางคนบอกว่า Tobey Maguire ผู้ที่รับบทเป็น สไปเดอร์แมนในภาพยนต์ภาคแรก ๆ นั้น สามารถเล่นบทบาทและแสดงท่าทางทุกอย่างได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เอฟเฟ็กต์แต่งภาพ แต่จริง ๆ แล้วเหล่าผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานทุกคนต่างก็รู้ดีว่าพลังและท่าทางที่ผู้เล่นบทของ Peter Parker ในซีรีย์ภาพยนตร์เรื่อง Spider-Man แสดงออกมาได้ดีนั้น อย่างการที่เขาสามารถยืน หรือยึดกับพื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ  นั้นเกิดจากมือของทีมงานและผู้ช่วย
และฉากการเหวี่ยงตัวโดยใช้สายเคเบิลก็คือ computer graphic แทบทั้งสิ้น

บางฉากบางตอนเทคนิคการถ่ายทำก็ เกิดในมุมที่ไม่เหมือนอย่างที่เราเห็นอย่างฉากนี้จริง ๆ แล้วตอนถ่ายทำกันนั้น ทำการแสดงในนท่านอนหงายธรรมดา แต่เมื่อออกสู่สายตาผู้ชมมีการหมุนเฟรม 90 องศาเพื่อสร้างสรรค์ความมหัศจรรย์ของภาพให้ออกมาดูมีพลังเหมือนอย่างที่เราเห็นกัน

© Naweezy / reddit
นอกจากการสร้างสรรค์สิ่งเหนือจินตนาการแล้ว computer graphic ยังสามารถย้อนเวลา หรือ เร่งเวลาเอาความหนุ่มสาวของนักแสดงกลับคืนมาหรือแม้จะเนรมิตรให้นักแสดงดูแก่กว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจอีกด้วย

© OrangeKM / reddit

© Naweezy / reddit
มาร์ตินสกอร์เซซี่กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่อง Marvel เป็นมากกว่าภาพยนตร์ธรรมดา แต่เป็นความสมบูรณ์แบบของความบันเทิงทั้งทางภาพและเสียง เห็นได้ชัดว่าผู้กำกับเปิดตัวภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างแพงที่สุดด้วยความยาวที่สุดถึง 3 ชั่วโมงครึ่งเพื่อยืนยันคำพูดเหล่านั้น โดยตลอดหลายภาคและความต่อเนื่องของมันทำให้ผู้กำกับที่ได้บอกเส้นทางตลอดชีวิตของฮีโร่อย่าง โรเบิร์ต เดอนีโร ตั้งแต่ช่วงอายุน้อยไปจนถึงจุดจบในภาพยนตร์ตอนสุดท้าย

นี้คือเบื้องหลังการสร้างภาพลักษณ์พิเศษของ Ghost Rider ซึ่งมันยากจริงๆ ที่จะจำใบหน้าของ Nicolas Cage ได้
© JasonLeiHowden / twitter

โรงยิมเสมือนจริง – กับการการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่สมบูรณ์ในไม่กี่วินาที

© Marvel Entertainment / youtube
บทบาทของสตีฟ โรเจอร์ส ก่อนการเปลี่ยนแปลงร่างกายของเขา ถูกเล่นโดยนักแสดง 2 คนในภาพยนตร์เรื่อง Captain American โดย Chris Evans คือตัวละครหลัก ในขณะที่ Leander Deeny คือคนที่แสดงเป็นร่างกายของเขาในช่วงแรกก่อนที่จะมีร่างกายบึกบึน ซึ่งแม้แต่ Deeny ที่รูปร่างเล็กและบางเฉียบ แต่ก็ยังสูงกว่าในบทที่ตัวละครถูกคาดหวังไว้ตามที่ผู้เขียนบทได้บรรยายไว้ ด้วยเหตุนี้ผู้อำนวยการสร้างต้องทำให้เขาดูตัวเล็กลง เพื่อที่จะทำให้ฉากดูน่าเชื่อถือที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉากแต่ละฉากจึงถูกถ่ายทำถึง 3 ครั้ง โดยนักแสดงทั้งหมดเปลี่ยนแค่  Evans, Deeny และถ่ายทำแบบไม่มีนักแสดงเพื่อใส่รายละเอียดด้วย CG

แอนเจลีนา โจลี ต้องนั่งแต่งหน้าเป็นเวลาหลายชั่วโมงกับทีมงานชุดใหญ่ในตอนที่ถ่ายทำเรื่องมาเลฟิเซนต์ภาคสอง นักแสดงหญิงสารภาพว่าเด็กๆกลัวเธอมากตอนแต่งหน้า

สำหรับบทบาทของเธอในภาพยนตร์ Tomb Raider, Alicia Vikander น้ำหนักเธอเพิ่มขึ้น 13 ปอนด์ แต่ถึงกระนั้นเธอก็สามารถกระโดดได้อย่างง่ายดายในภาพยนตร์ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีเทคนิคพิเศษเข้ามาช่วย

หากคิดถึงสถาพของพื้นที่ในภาพยนตร์ เทียบกับพื้นที่ของสตูดิโอจริง ๆ นั้นดูจะเล็กเกินไปที่จะสร้างภาพยนตร์ให้เกิดความสมจริงขึ้นมาได้ แต่ด้วยเทคนิคและความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เรามีในทุกวันนี้ทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้ตามแต่จะคิดฝัน

© Marvel Entertainment / youtube
ใครจะไปคิดว่าจริง ๆ แล้วจักรวาลทั้งหมดของ Star Wars ที่เราเห็นนั้น ใช้พื้นที่ถ่ายทำจริง ๆ ด้วยขนาดเกือบจะพอดีกับโรงรถของ George Lucas เท่านั้นเอง แต่เพราะ CG จึงทำให้ทุกอย่างออกมาสมจริงอย่างที่เราได้ชมกัน
และใครจะคิดละว่าฉากเข้าปะทะอันน่าตื่นตาตื่นใจจะเกิดจากการวิ่งไปบนลู่วิ่งจริง ๆ เพื่อให้ท่าทางออกมาได้สมจริง
© Fame Focus / youtube
งบประมาณการสร้างของ Avengers: Endgame มีมูลค่าสูงถึง 356 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ภาพยนตร์ Valerian and the City of a Thousand Planets มีค่าใช้จ่ายถึง $ 197 ล้านเพราะมันเป็นภาพยนตร์ยุโรปที่มีทุนสร้างแพงที่สุด และส่วนใหญ่ของเงินนี้ถูกใช้ไปกับ CGI

นี้คือความจริง ที่ว่าฉากใต้น้ำในเรื่อง Aquaman ที่เราเห็นทั้งหมดนั้น ไม่มีฉากไหนเลยที่ถูกถ่ายทำใต้มหาสมุทรจริงๆ ที่เราเห็นนักแสดงลอยขึ้นไปบนทัศนียภาพของมหาสมุทร นั้นถูกสร้างเป็นสระจำลองขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติในแทงค์ขนาดใหญ่

© casualphilosopher1 / reddit
คุณชอบภาพยนตร์ที่มีแอฟเฟคอลังการหรือแบบที่ไม่มีแอฟเฟค พวกเราอยากได้ยินความคิดเห็นของคุณ ลองแบ่งปันภาพยนตร์ที่คุณคิดว่าจะดียิ่งขึ้นหากไม่มีแอฟเฟค ในเพจของเราสิ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย เพลินเพลิน